ยอดบุญกฐินทะลุ 1.28 ล้านบาท SPRC ทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2566 ณ วัดตากวน จังหวัดระยอง

ยอดบุญกฐินทะลุ 1.28 ล้านบาท SPRC ทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2566 ณ วัดตากวน จังหวัดระยอง

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 นายพงษ์กรณ์ ช่อชูวงศ์ ผู้จัดการทั่วไป – ความเป็นเลิศด้านปฏิบัติการ พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน SPRC ผู้บริหารเทศบาลเมืองมาบตาพุด ประธาน คณะกรรมการ และชาวบ้านชุมชนตากวน-อ่าวประดู่ ร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญทอดกฐินสามัคคีประจำปี 2566 ถวายชุดผ้าไตรจีวร อัฐบริขาร และปัจจัย ณ วัดตากวน อ.เมืองระยอง จ.ระยอง โดยมียอดเงินทำบุญรวมทั้งสิ้น1,286,789 บาท

วัตถุประสงค์ของการจัดงานบุญดังกล่าวนี้ เพื่อร่วมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สืบสานประเพณีไทย รวมทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน นอกจากนี้ SPRC ยังได้ร่วมงานบุญกฐินประจำปีในวัดอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดระยอง รวมจำนวน 20 วัดอีกด้วย

THE LIGHTER THAILAND

รายงานความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ก.ค.- ก.ย. 2566)

รายงานความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ก.ค.- ก.ย. 2566)


รายงานการดำเนินงานและความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ก.ค.- ก.ย. 2566) ข้อมูลโดย การนิคมอุตสาหกรรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยสำนักงานบริหารโครงการ เจ้าของโครงการ, กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการ PMSC, บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจีเทอร์มินอล จำกัด (GMTP) เอกชนคู่สัญญาบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) ผู้รับจ้าง


ความก้าวหน้าของโครงการฯ (ก.ค. – ก.ย. 2566 ) ดังนี้
1. ความก้าวหน้าการก่อสร้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 อยู่ที่ 65.09% ซึ่งใกล้เคียงกับแผนงานที่กำหนดไว้

2. มาตรการความปลอดภัยและการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการติดตั้งทุ่นและไฟสัญญาณ เครื่องหมายบอกตำแหน่งแสดงอาณาเขตของบริเวณพื้นที่ก่อสร้างในทะเล การควบคุมการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ทางบกและทางทะเลให้มีความปลอดภัย การติดตั้งม่านกันตะกอนในพื้นที่การขุดลอกเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของตะกอน การตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรการ EHIA เช่น การตรวจวัดคุณภาพอากาศ การตรวจวัดคุณภาพเสียงและความสั่นสะเทือน การเก็บตัวอย่างนิเวศวิทยาทางทะเล การตรวจวัดคุณภาพน้ำทะเล และ ตรวจวัดสารแขวนลอยในน้ำทะเลประจำวัน เป็นต้น ซึ่งดัชนีที่ตรวจวัดต่าง ๆ มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด


3. กิจกรรมด้านพัฒนาสังคม และ CSR
3.1 โดยเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์-ฟื้นฟูปะการัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการโครงการในการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลด้วยฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง 3D Cement Printing บริเวณเกาะสะเก็ด จ.ระยอง เพื่อรักษาฟื้นฟูระบบนิเวศน์ทางทะเล
3.2 วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับโครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จังหวดระยอง ปีที่ 21 ณ กลุ่มประมงเรือเล็กบ้าน พลา -หาดพลา
3.3 วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 สนับสนุนและร่วมกิจกรรม ฟื้นฟูหอยหวานบริเวณชายฝั่งทะเลระยอง และนิทรรศการ Wonder of aquatic ภายใต้กิจกรรมมหัศจรรย์โลก ณ ศูนย์การค้าโรบินสันบ้านฉาง
3.4 วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 จัดอบรม care giver “ GULF ห่วงใย ดูแลใส่ใจผู้สูงอายุ” การดูแลผู้สูงอายุแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และมอบอุปกรณ์เครื่องวัดความดัน ให้กับเทศบาลมาบตาพุด เพื่อมอบให้ชุมชนในการดูแลสุขภาพ
3.5 วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เข้าร่วมรณรงค์ประมงปลอดภัยกับกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน
3.4 วันที่ 4 สิงหาคม 2566 สนับสนุน ซ่อมแซมรั้วสะพานรอบพื้นที่ออกกำลังกายของชุมชนบ้านพลา
3.5 วันที่ 9 สิงหาคม 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะ ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการฯ
3.6 วันที่ 10 สิงหาคม 2566 ปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนาชุมชนเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง วันแม่แห่งชาติร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านฉาง ณ หาดน้ำริน
3.7 วันที่ 11 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมกิจกรรมฟื้นฟูพันธุ์หอยหวาน บริเวณชายฝั่งทะเลระยอง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 91 พรรษาสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงฯ ณ กลุ่มประมงเรือเล็กบ้านพยูน ต.บ้านฉาง จ.ระยอง
3.8 วันที่ 11 สิงหาคม 2566 จักกิจกรรมร่วมกับประมงเรือเล็กหาดสุชา พัฒนาฟื้นฟูป่าชายเลนเทศบาลตำบลเนินพระ จ.ระยอง
3.9 วันที่ 11 กันยายน 2566 จัดกิจกรรมอบรมฟุตบอลคลินิกแก่เยาวชน ณ โรงเรียนวัดตากวน โรงเรียนวัดหนองแฟบ โรงเรียนบ้านพยูน


4. แผนการดำเนินงานระยะ 3 เดือนต่อไป
4.1 งานก่อสร้างเขื่อนกันทราย (Revetment) งานก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น (Breakwater) และงานก่อสร้างท่าเทียบเรือบริการ (Service Tugboat Port)
4.2 งานก่อสร้างสะพานทางเข้า-ออก ของโครงการ
4.3 งานขุดลอกและถมทะเล
4.4 การหล่อและติดตั้งคอนกรีตสำเร็จรูป (Caisson)
4.5 การขนส่งวัสดุก่อสร้างทางทะเล
4.6 งานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
ศึกษาข้อมูล/รายละเอียดเพิ่มเติม สำนักงานบริหารโครงการ. www.maptaphut3.com ติดต่อประสานงาน ที่นายศุภโชค ศิลปเจริญ โทร. 086-0992588 (คุณแมน)

THE LIGHTER THAILAND

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี สร้างความร่วมมือเครือข่ายชุมชน สาธิตการทำปุ๋ยจากเศษใบไม้เพื่อชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี สร้างความร่วมมือเครือข่ายชุมชน สาธิตการทำปุ๋ยจากเศษใบไม้เพื่อชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน


14 พฤศจิกายน 2566 – โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีร่วมกับเทศบาลเมืองมาบตาพุด
ผู้แทนจากกการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และวัดโขดหิน
นำโดยพระอาจารย์มหานักรบ เจ้าอาวาสวัดโขดหิน ได้จัดกิจกรรมสาธิตวิธีทำปุ๋ยจากเศษใบไม้
โดยมุ่งหวังลดปริมาณขยะจากเศษใบไม้ที่สะสมในวัดโขดหิน ในกิจกรรมครั้งนี้มีนักเรียนชั้นป.5
จากโรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42 และอสม.ชุมชนโขดหิน 2
ได้มีส่วนร่วมในการทำปุ๋ยจากเศษใบไม้ด้วยตนเองซึ่งถือเป็นการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการจัดการขยะ
และยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และสถานประกอบการเอกชน
ซึ่งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมชน


โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีไม่เพียงแต่นำเสนอวิธีการทำปุ๋ยจากเศษใบไม้เท่านั้น
แต่ยังได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะจากเศษใบไม้ที่ได้ทดลองและพัฒนาภายในองค์
กร โดยโครงการนี้ได้พัฒนาวิธีการที่สามารถลดระยะเวลาการหมักเศษใบไม้จากปกติเป็น 45-60 วัน
ซึ่งถือเป็นการลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำปุ๋ยจากเศษใบไม้ได้อย่างมีนัยสำคัญ
และเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำองค์ความรู้และทักษะภายในองค์กรต่อยอดเพื่อส่งเสริม
สร้างจิตสำนึกและจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน ตามกรอบการดำเนินงาน
ESG (Environment, Social, Governance: สิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล)
ของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีและตามเป้าหมายการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs:
Sustainable Development Goals) ที่โรงไฟฟ้าบีแอลซีพียึดถือมาโดยตลอด

THE LIGHTER THAILAND

SPRC ร่วมกับสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยและสมาคมกีฬาจังหวัดระยอง สนับสนุนทัวร์นาเมนต์ปิงปองเยาวชน ปี 2566

SPRC ร่วมกับสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยและสมาคมกีฬาจังหวัดระยอง สนับสนุนทัวร์นาเมนต์ปิงปองเยาวชน ปี 2566

บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) ร่วมกับการกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดระยอง และชมรมกีฬาเทเบิลเทนนิสจังหวัดระยอง จัดกิจกรรม “การแข่งขันกีฬาปิงปองเยาวชน ชิงแชมป์สปินนิ่งสตาร์ ปี 2566” (Spinning Star Competition by SPRC Table Tennis Tournament 2023) ในวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2566 ณ สนามกีฬากลางจังหวัดระยอง โดยมี คุณวรเศรษฐ์ วงษ์ไพศาล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เป็นประธาน

การแข่งขันดังกล่าวSPRC มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เยาวชน ชาย-หญิง ในจังหวัดระยองที่มีความสนใจกีฬาปิงปอง ให้มีเวทีประลองความสามารถในด้านการแข่งขัน และเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถเป็นตัวแทนจังหวัดระยอง เข้าร่วมแข่งขันในรายการระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศในนามจังหวัดระยองได้ ทั้งยังส่งเสริมให้เยาวชนมีนิสัยการรักการออกกำลังกาย และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

THE LIGHTER THAILAND

ไทยติด 1 ใน 7 ประเทศ รับกองทุน Dow Business Impact Fund เตรียมสร้างโรงรีไซเคิลขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน      

ไทยติด 1 ใน 7 ประเทศ รับกองทุน Dow Business Impact Fund เตรียมสร้างโรงรีไซเคิลขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน      

Closeup of granulated plastic waste on a recycling plant for plastics

กรุงเทพฯ – 10 พฤศจิกายน 2566 – เมื่อเร็ว ๆ นี้  กองทุน Dow Business Impact Fund ของบริษัท Dow ได้ประกาศสนับสนุน 7 โครงการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกที่จะช่วยขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและยกระดับความยั่งยืนผ่านความเชี่ยวชาญของ Dow และความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของโลก โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนในการสร้างโรงไพโรไลซิสขนาดเล็กซึ่งจะช่วยรีไซเคิลขยะพลาสติกกลับเป็นน้ำมันเพื่อผลิตเป็นวัตถุดิบในโรงงานปิโตรเคมี

บ็อบ พลิชกา ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือเชิงกลยุทธ์องค์กร และประธานมูลนิธิ Dow กล่าวว่า “Dow Business Impact Fund เป็นกองทุนที่ช่วยแก้ไขปัญหาความท้าทายของโลกในเรื่องต่าง ๆ ที่เร่งด่วน โดยใช้นวัตกรรมของ Dow เพื่อสร้างสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้น และปลดล็อกโอกาสทางธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ร่วมกับลูกค้าและคู่ค้า โครงการต่าง ๆ ในปีนี้มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน การนำขยะมาใช้ประโยชน์ พร้อมกับการสนับสนุนประชากรกลุ่มเปราะบางที่สุดของสังคม”

โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก Dow Business Impact Fund ในปีนี้ ประกอบด้วย

  • โครงการ Small Scale Pyrolysis Unit ในประเทศไทย  Dow จะร่วมกับสถาบันพลาสติกแห่งประเทศไทยเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดเล็กในการพัฒนาและปรับปรุงโรงไพโรไลซิส เพื่อแปลงขยะพลาสติกมูลค่าต่ำ (ฟิล์มบรรจุภัณฑ์และถุงพลาสติกใช้แล้ว) เป็นน้ำมันไพโรไลซิส สำหรับเป็นวัตถุดิบหมุนเวียนเข้าสู่โรงแยกปิโตรเคมีที่เป็นพันธมิตรของ Dow ในจังหวัดระยอง ซึ่งการนำขยะพลาสติกมูลค่าต่ำกลับมาใช้ใหม่เป็นโอกาสที่จะเพิ่มอัตราการรีไซเคิลในระบบการจัดการขยะของชุมชนในประเทศไทย ช่วยลดปริมาณขยะ และประหยัดทรัพยากร
  • โครงการ Driving Change for Waste Traceability and Recycling Rates ในประเทศอาร์เจนตินา – Dow และองค์กรเดลเทราจะร่วมกันปรับปรุงความโปร่งใสของระบบการจัดการและรีไซเคิลขยะ ด้วยนวัตกรรมเครื่องมือติดตามที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน โดยจะสามารถติดตามสถานะของพลาสติกรีไซเคิลได้ตั้งแต่การเก็บรวบรวมไปจนถึงการแปลงเป็นผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ทราบได้อย่างแน่ชัดว่าวัสดุรีไซเคิลของพวกเขามาจากที่ใด นอกจากนี้ Dow ยังสนับสนุนโครงการ Rethinking Recycling ของเดลเทรา ในเมืองบาเอียบลังกา ซึ่งตั้งเป้าเพิ่มอัตราการรีไซเคิลเป็นสามเท่าภายในปี ค.ศ. 2025 โครงการนี้จะช่วยปรับปรุงพฤติกรรมเกี่ยวกับการแยกขยะ การรีไซเคิล และการเก็บรวบรวมวัสดุ อีกทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์รีไซเคิล ช่วยหาผู้รับซื้อวัสดุ และสร้างอาชีพด้านการจัดการขยะในรูปแบบของสหกรณ์อีกด้วย
  • โครงการ REUSE (Fridge Recycling Expansion) ในประเทศบราซิล – การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนของวัสดุโพลียูรีเทนในที่นอน โซฟา และตู้เย็น ซึ่งจะขยายไปยังภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิล โดยร่วมมือกับพันธมิตรที่สำคัญ โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ โดยส่วนขยายนี้จะให้บริการรีไซเคิลแก่ผู้บริโภคมากขึ้น และช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมบรรลุเป้าหมายความรับผิดชอบของผู้ผลิตปี ค.ศ. 2024 ในการเก็บรวบรวมและรีไซเคิลให้ได้ 12% ของยอดการผลิตทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นโครงการจะยังคงช่วยลดปริมาณขยะที่เคยถูกกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี ช่วยปรับปรุงการจัดการก๊าซทำความเย็นหลังการทิ้งตู้เย็น และเพิ่มปริมาณโพลียูรีเทนที่ดึงกลับมาใช้ใหม่ได้
  • โครงการ Eztli ในประเทศเม็กซิโก – คำว่า Eztli เป็นภาษาพื้นเมืองที่เกี่ยวข้องกับเลือด ชีวิต และความมีชีวิตชีวา เป็นโครงการที่ส่งเสริมการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความจำเป็นด้านสุขอนามัยของผู้หญิง โดยการใช้นวัตกรรมซิลิโคนของ Dow ในถ้วยอนามัยสำหรับผู้มีประจำเดือน นอกจากนี้ยังสนับสนุนการรณรงค์ให้ความรู้ และโครงการด้านข้อมูลสุขภาพผ่านความร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและองค์กรเพื่อสังคม เช่น MEXFAM และ ยูไนเต็ด เวย์ เม็กซิโก โดยโครงการจะบริจาคถ้วยอนามัยจำนวน 80,000 ใบให้กับผู้ยากไร้ในเม็กซิโกซิตี้ รัฐเม็กซิโก และเมืองเกเรตาโร นอกจากนี้ยังช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์ให้กับยางพาราในตลาดเม็กซิโกอีกด้วย
  • โครงการ Soap for Hope ในประเทศแอฟริกาใต้ – โครงการนี้ตั้งใจที่จะนำสบู่ก้อนใช้แล้วที่เหลือจากโรงแรมข้ามชาติต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์เพื่อชุมชนในแอฟริกาใต้ ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วม การฝึกอบรม และการให้คำแนะนำแก่เยาวชนและสตรีว่างงานเพื่อจัดตั้งเครือข่ายการรวบรวมและโรงงานรีไซเคิลสบู่ก้อนใช้แล้วจากโรงแรม รวมถึงสร้างเครือข่ายการจัดจำหน่ายเพื่อลดขยะ ส่งเสริมสุขอนามัยที่ยั่งยืน และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนท้องถิ่น ผ่านความร่วมมือกับบริษัท ดิเวอร์ซี ในเครือโซเลนิส ผู้นำด้านโซลูชั่นการทำความสะอาดและสุขอนามัยสำหรับตลาดอุตสาหกรรมและ เพ็บเบิ้ล โปรเจค องค์กรพัฒนาเอกชนในท้องถิ่นที่มีประสบการณ์หลายสิบปีในด้านการศึกษาและบริการด้านสุขภาพ
  • โครงการ Recyclable Grain Bags ในประเทศยูเครน – โครงการนี้จะนำเทคโนโลยีถุงเก็บรักษาเมล็ดพืชที่สามารถรีไซเคิลได้มาใช้ภายในฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมถึงอุตสาหกรรมในท้องถิ่น ด้วยเทคโนโลยีนี้ เกษตรกรก็จะสามารถจัดเก็บผลผลิตของตนได้อย่างง่ายดายในราคาไม่แพง สามารถเก็บรักษาผลผลิตไว้ได้จนกว่าจะถึงเวลาเก็บเกี่ยวหรือส่งออกขาย ช่วยป้องกันอาหารเน่าเสียกลายเป็นขยะ โดย Dow กำลังทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน Ukrainian Agrarian Council และพันธมิตรทางธุรกิจในท้องถิ่นเพื่อบูรณาการแนวคิดการรีไซเคิลถุงเก็บรักษาเมล็ดพืชเพื่อช่วยส่งเสริมวงจรรีไซเคิลและลดขยะพลาสติก
  • โครงการ Taking Care of our Home ในสหรัฐอเมริกา – โครงการนี้จะร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน เดอะ รีไซคลิง พาร์ทเนอร์ชิป ในการประเมินภูมิทัศน์การรีไซเคิลในปัจจุบันและระบุกลยุทธ์เพื่อปรับปรุงอัตราการรีไซเคิลในชุมชนชายฝั่งอ่าวสหรัฐฯ ที่สําคัญที่ Dow ดําเนินงาน โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มอัตราการรีไซเคิลภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในชุมชนเหล่านี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตของ Dow ส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือ
  • Storage of sorted waste at a waste processing plant for further processing and disposal.

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 กองทุน Dow Business Impact Fund ได้สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปแล้วกว่า 58 โครงการ จาก 22 ประเทศทั่วโลก โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมเกือบ 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งช่วยรีไซเคิลวัสดุใช้แล้วได้กว่า 13,400 ตัน ป้องกันขยะพลาสติกกว่า 9,500 ตัน จากการถูกฝังกลบหรือหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม สร้างงานมากกว่า 2,000 ตำแหน่ง ปกป้องพื้นที่กว่า 46,000 ไร่ และยังคงมุ่งมั่นจะส่งเสริมโครงการดี ๆ ให้สังคมและสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต่อไป

Dow ได้เปิดให้พนักงานทั่วโลกสามารถเสนอโครงการที่มีศักยภาพเพื่อขอรับทุน โดยจะมีคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้บริหารของ Dow จากฝ่ายต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นผู้คัดเลือก โดยโครงการที่ได้รับเลือกจะต้องมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสังคมที่สำคัญหรือส่งเสริมความยั่งยืน สามารถขยายขนาดได้ทั้งในด้านการออกแบบและผลกระทบ สร้างความร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรในภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้

THE LIGHTER THAILAND

BST Group ร่วมเป็นเจ้าภาพงานทอดกฐินสามัคคี ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ วัดซอยคีรี

BST Group ร่วมเป็นเจ้าภาพงานทอดกฐินสามัคคี ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ วัดซอยคีรี

กลุ่มบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด หรือ BST Group ประกอบด้วย บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด (BST) บริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ส จำกัด (BSTE) และบริษัท บีเอสที เอเนออส อิลาสโตเมอร์ จำกัด (BEE) ร่วมเป็นเจ้าภาพงานทอดกฐินสามัคคี ประจำปี ๒๕๖๖ โดยมีคณะผู้บริหารและพนักงาน BST Group ชาวชุมชนซอยคีรี ชุมชนเจริญพัฒนา ชุมชนหนองหวายโสม และชุมชนใกล้เคียง เข้าร่วมงาน ณ วัดซอยคีรี ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ มีความประสงค์ที่จะบูรณปฏิสังขรณ์เมรุของวัดซอยคีรี ที่มีความชำรุดทรุดโทรมจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน ต่อยอดต่อเนื่องมาจากปีที่แล้วด้วย และนอกเหนือจากวัดซอยคีรีแล้วในปี ๒๕๖๖ นี้ BST Group ยังได้ร่วมงานบุญกฐินประจำปีตามวัดต่างๆ ในเขตพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง รวมจำนวน อีก ๑๒ แห่ง เพื่อสืบสานประเพณีทางพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนสืบต่อไป

สำหรับยอดเงินทำบุญ “งานทอดกฐินสามัคคี ณ วัดซอยคีรี ประจำปี ๒๕๖๖” จำนวนรวมทั้งสิ้น ๑,๒๘๒,๙๙๙ บาท

#BSTGroup #กฐินสามัคคี

THE LIGHTER THAILAND…//

ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ผนึกกำลังพันธมิตรขับเคลื่อน “ระยอง” นำร่องจัดการบรรจุภัณฑ์แบบ Closed-Loop ผ่านโครงการ “ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ข.ขวด หมุนเวียน เป็นขวดใหม่”

ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ผนึกกำลังพันธมิตรขับเคลื่อน “ระยอง” นำร่องจัดการบรรจุภัณฑ์แบบ Closed-Loop

ผ่านโครงการ “ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ข.ขวด หมุนเวียน เป็นขวดใหม่

กรุงเทพฯ 6 พฤศจิกายน 2566 — บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์สินค้าของซันโทรี่และเป๊ปซี่โคในประเทศไทย ตอกย้ำนโยบายการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน (Sustainable Packaging Management) โดยล่าสุดจับมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ จังหวัดระยอง, บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC), บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด (ENVICCO) และ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ขับเคลื่อนจังหวัดระยองเพื่อนำร่องส่งเสริมการคัดแยกขวดพลาสติก PET ใช้แล้ว และเก็บกลับมารีไซเคิลเป็นขวดใหม่ ส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย ผ่านโครงการ “ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย     ข.ขวด หมุนเวียน เป็นขวดใหม่” ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

โครงการ “ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ข.ขวด หมุนเวียน เป็นขวดใหม่” รณรงค์ให้คนระยองคัดแยกขวดพลาสติก PET ใช้แล้ว โดยปูพรมตั้งถังแยกขวดพลาสติก PET เพื่อการรีไซเคิล ตามสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดระยอง อาทิ สถานที่ราชการ สถานศึกษา พื้นที่สาธารณะ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลระยอง รวมถึงร้านอาหารที่เป็นลูกค้าของบริษัทฯ จำนวนทั้งสิ้นกว่า 220 ถัง หลังจากนั้นจะดำเนินการเก็บกลับขวดพลาสติก PET ใช้แล้วโดยอาสาสมัครชุมชน และแพลตฟอร์มจัดการพลาสติกใช้แล้ว “GC YOUเทิร์น” ที่สำคัญ ขวดพลาสติก PET ที่คัดแยกอย่างดี จะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่โรงงานเอ็นวิคโค ซึ่งเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลเกรดอาหารคุณภาพสูง เพื่อหมุนเวียนกลับมาผลิตเป็นขวดพลาสติก  รีไซเคิลหรือที่เรียกกันว่า ขวด rPET ซึ่งแน่นอนว่าสะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน อย. โครงการนี้จึงถือว่าเป็นต้นแบบ Closed-Loop ของการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในจังหวัดระยองอย่างแท้จริง

 

นางสาววิภาวรรณ ทัศนปรีชาชัย ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ          (ประเทศไทย) จำกัด เผยถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ว่า “หลังจากที่บริษัทฯ ประกาศใช้ขวดจากพลาสติกรีไซเคิล 100% (ขวด rPET 100%) เป็นเจ้าแรกในตลาดเครื่องดื่มไทย บริษัทฯ จึงเดินหน้าส่งเสริมการคัดแยกขวดพลาสติก PET ใช้แล้วอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อรีไซเคิลหมุนเวียนกลับมาเป็นขวดใหม่ หรือที่เรียกว่า ‘Bottle-to-Bottle Recycling’ พร้อมกันนี้ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย เล็งเห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของจังหวัดระยองในการเป็นจังหวัดนำร่องจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน เพราะปัจจุบันจังหวัดระยองเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีทั้งผู้ผลิตสินค้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค ผู้คัดแยก และโรงงานรีไซเคิล ครบตามห่วงโซ่ของบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม สามารถนำขวดพลาสติก PET ใช้แล้วมารีไซเคิลหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างครบวงจร ที่สำคัญโรงงานที่เป็นฐานการผลิตใหญ่ของบริษัทฯ ก็ตั้งอยู่ในจังหวัดระยองด้วย บริษัทฯ จึงร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนดำเนินโครงการ ‘ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ข.ขวด หมุนเวียน เป็นขวดใหม่’ ผนึกกำลังเพื่อเก็บกลับและรีไซเคิลขวดพลาสติก PET ใช้แล้วให้ได้มากยิ่งขึ้น เพื่อขับเคลื่อน ‘ระยอง’ เป็นจังหวัดนำร่องจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน”

นายธีรพันธ์ ศิริปักมานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น ตัวแทนจังหวัดระยอง กล่าวว่า “โครงการ ‘ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ข.ขวด หมุนเวียน เป็นขวดใหม่’ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดระยอง เพราะไม่เพียงแต่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับจังหวัดระยองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ       ของประเทศ แต่ยังช่วยส่งเสริมให้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดระยองมีประสิทธิภาพ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามนโยบายของทางรัฐบาลอีกด้วย ผมจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่โครงการดีๆ เช่นนี้ปักหมุดที่จังหวัดระยองเป็นแห่งแรก และขอเชิญชวนพี่น้องชาวระยอง คัดแยกขวดพลาสติก PET      ใช้แล้ว รวบรวมนำไปใส่ในถังแยกขวดพลาสติก PET เพื่อการรีไซเคิล ของทางโครงการฯ ที่ตั้งกระจายไปทั่วจังหวัด”

ด้าน ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) กล่าวว่า “GC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีตามแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยหลัก ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ด้วยความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero GC ลงทุนในเทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลล้ำสมัย ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สำหรับการผนึกกำลังกับซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ในครั้งนี้ เราได้นำอาสาสมัครชุมชนที่เข้าอบรมเรื่องการคัดแยกขยะ และนำแพลตฟอร์ม ‘GC YOUเทิร์น’ เข้ามาช่วยบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างครบวงจร ตั้งแต่การคัดแยก จัดเก็บ ขนส่ง ไปจนถึงการนำพลาสติกใช้แล้วกลับมารีไซเคิลผ่านโรงงานเอ็นวิคโค สร้างความมั่นใจให้กับขวดพลาสติก PET ใช้แล้วทุกขวดที่ชาวระยองตั้งใจคัดแยก จะได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อนำไปผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ภายใต้แบรนด์อินโนอีโค (InnoEco) ที่สะอาด ปลอดภัย ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลทั้งจากอเมริกา (USFDA) ยุโรป (EFSA) และมาตรฐาน อย. ไทย

นายกิตติพงษ์ สิปิยารักษ์ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ระยอง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา ‘เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม’ ให้ดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแต่ละโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เราเข้าร่วมเป็นพันธมิตร ดำเนินงานบนหลักการที่สามารถสร้างคุณค่าที่แท้จริงและตอบโจทย์ความต้องการของสังคมได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมโครงการ ‘ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ข.ขวด หมุนเวียน เป็นขวดใหม่’ โดยสนับสนุนพื้นที่ตั้งถังแยกขวดพลาสติก PET ใช้แล้วในศูนย์การค้าเซ็นทรัล ระยองของเรา เพื่อรณรงค์ให้ลูกค้าคัดแยกขวดพลาสติก PET ใช้แล้ว และเราจะส่งมอบขวดให้แก่กลุ่มอาสาสมัครชุมชน เพื่อส่งต่อให้กับบริษัท เอ็นวิคโค จำกัด (ENVICCO) เพื่อรีไซเคิลเป็นขวดใหม่ต่อไป”

“โครงการฯ ในจังหวัดระยองนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ที่ใส่ใจตั้งแต่ต้นทางคือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์และเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี รวมถึงการดำเนินโครงการเก็บกลับขวดพลาสติก PET ใช้แล้วให้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้ได้มากยิ่งขึ้น ถือได้ว่าเป็นการดำเนินงานตามหลักการ ‘Extended Producer Responsibility’ (EPR) โดยขยายความรับผิดชอบของบริษัทฯ ให้ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ และบริษัทฯ พร้อมเดินหน้าจับมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้จริงในประเทศไทย” นางสาววิภาวรรณ กล่าวทิ้งท้าย

THE LIGHTER THAILAND

Dow จัดค่ายภาษาอังกฤษ ชวน คิด(ส์) เล่น…เรียน…รู้ เตรียมความพร้อมเด็กระยอง รองรับการเติบโต EEC

Dow จัดค่ายภาษาอังกฤษ ชวน คิด(ส์) เล่น…เรียน…รู้ เตรียมความพร้อมเด็กระยอง รองรับการเติบโต EEC

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) จัดกิจกรรม ‘ค่ายภาษาอังกฤษ ชวน คิด(ส์) เล่น…เรียน…รู้’ ภายใต้โครงการ “ยั่งยืน ปลอดภัย ใส่ใจชุมชน” โดยพนักงานดาวอาสากลุ่ม Dow Next Gen ได้ร่วมกันพัฒนาทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสนใจ สร้างแรงบันดาลใจ และเตรียมความพร้อมของเยาวชนรองรับการเจริญเติบโตของอำเภอบ้านฉางซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ผ่านฐานกิจกรรมและเกมต่าง ๆ ที่ช่วยพัฒนาคลังคำศัพท์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนวัดสุวรรณรังสรรค์จำนวน 60 คน

โดยได้รับเกียรติจากนายธนัช วัฒนศักดิ์ภูบาล ผู้จัดการโรงงานระบบสิ่งแวดล้อมและสาธารณูปโภคส่วนกลางของ Dow นายไชยา มากคช รองนายกเทศมนตรีตำบลสำนักท้อน และนางสาว บงกชธร เพิกนิล ผู้อำนวยการโรงเรียนฯพร้อมคณะผู้บริหาร เข้าร่วมในพิธีเปิดกิจกรรม ณ โรงเรียนชุมชนวัดสุวรรณรังสรรค์ ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

THE LIGHTER THAILAND

BST Group ตระหนักสร้างความยั่งยืน รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม

BST Group ตระหนักสร้างความยั่งยืน รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม🌱🌏

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2566 บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด (BST) บริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ส จำกัด (BSTE) และบริษัท บีเอสที เอเนออส อิลาสโตเมอร์ จำกัด (BEE) พร้อมคณะผู้บริหารและพนักงาน ร่วมจัดโครงการ “สานเสวนา BST Group พบชุมชน ปล่อย ปลูก ป่า” ประจำปี 2566 ต่อเนื่องปีที่ 13 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพบปะพูดคุย แจ้งข่าวสารด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์

พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังข้อเสนอแนะจากชุมชนอย่างใกล้ชิดเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยตัวแทนจาก หน่วยงานราชการ ชาวชุมชนในเขตเทศบาลเมือง

มาบตาพุด และชุมชนเขตตำบลบ้านฉาง ที่มาเข้าร่วม
 
ทั้งนี้ทาง BST Group ได้ร่วมกับหน่วยงานราชการ และชาวชุมชนฯ ปลูกต้นไม้ จำนวน 401 ต้น ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ 3 ชนิด ได้แก่ ไม้ประดู่ ไม้มะค่าโมง และไม้มะฮอกกานี ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ได้ถึง 3,810 กิโลกรัม CO2 ต่อปี สามารถฟื้นฟูป่าชุมชนบ้านฉาง ให้เป็นพื้นที่ธรรมชาติสีเขียว มีเส้นทางศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติอันงดงาม ณ ป่าชุมชนบ้านเนินสำเหร่ ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

 

#BSTGroup #ปล่อยปลูกป่า

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ร่วมกิจกรรม เดิน-วิ่ง “WALK RUN BIKE FIGHTING STROKE 9” จังหวัดระยอง

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ร่วมกิจกรรม เดิน-วิ่ง “WALK RUN BIKE FIGHTING STROKE 9” จังหวัดระยอง

29 ตุลาคม 2566 – โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีร่วมกิจกรรม เดิน-วิ่ง “WALK RUN BIKE FIGHTING STROKE 9” ประเภททีม 20 คน และ ประเภททีม VIP จุดปล่อยตัว ณ สนามกีฬากลางจังหวัดระยอง โดยมีนายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานในพิธี

กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมภายใต้ชื่อโครงการ “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 9 เฉลิมพระเกียรติ” ซึ่งเป็นการรวมพลังขับเคลื่อนโครงการฯ ผ่านเขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 13 เขต ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย โดยปีนี้จัดในหัวข้อ “คนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนไทยไร้สโตรค (No STROKE for all Thais by NEW GEN)” ซึ่งคนรุ่นใหม่ (NEW GEN) เป็นกลุ่มคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีพลังกาย พลังใจ ความมุ่งมั่น ความรักและปรารถนาดีต่อชุมชนบ้านเกิด ซึ่งหากมีการปลูกฝัง สร้างความตระหนักในแนวทางการใช้ชีวิตว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลโรค โดยเฉพาะการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ว่าต้องดำเนินการอย่างไรให้ทันท่วงที ซึ่งคนรุ่นใหม่นับได้ว่าเป็นพลังสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนไทยไร้สโตรคในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี


สำหรับวัตถุประสงค์ของการกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงเป็นดั่งแสงนำใจของประชาชนไทย และทรงเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนชาวไทยในการรักษาสุขภาพ และการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมให้ชาวระยอง โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและลดอัตราป่วยของหลอดเลือดสมอง (Stroke) และเพื่อจัดตั้งกองทุน “แสงนำใจไทยทั้งชาติ ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติของจังหวัดระยอง” สำหรับใช้ในการบริหารจัดการในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและฟื้นฟู โรคหลอดเลือดสมอง ของจังหวัดระยอง ซึ่งโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีมีความยินดีที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมกิจกรรมอันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน

บีแอลซีพีร่วมสร้างสังคมน่าอยู่ เคียงคู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

THE LIGHTER THAILAND

เพราะเราให้คุณมากว่าข่าว

Exit mobile version