คลังเก็บหมวดหมู่: แวดวงโรงงาน

SPRC จัดกิจกรรมแอโรบิกสัญจร ปี 9 “เต้นท้าโรค โยกไปกับชุมชน”

SPRC จัดกิจกรรมแอโรบิกสัญจร ปี 9 “เต้นท้าโรค โยกไปกับชุมชน”

วันที่ 9 เมษายน 2567 บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และเทศบาลเมืองมาบตาพุด จัดกิจกรรมแอโรบิกสัญจรเขตอำเภอเมืองระยอง “เต้นท้าโรค โยกไปกับชุมชน ปีที่ 9” ณ อาคารอเนกประสงค์ชุมชน หน้าวัดมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยได้รับเกียรติจาก นายกิตติ เกียรติมนตรี รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เป็นประธานในการเปิดงาน

กิจกรรมดังกล่าวนี้ ได้รับความสนใจจากพี่น้องทั้ง 15 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมกว่า 400 คน ซึ่งนอกจากความสนุกสนานและความสัมพันธ์ที่ดีของผู้คนภายในงานแล้ว SPRC ยังคงมุ่งมั่นส่งเสริมการออกกำลังกายให้แก่คนในชุมชน ซึ่งอยู่ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดระยอง พร้อมกันกับการมุ่งพัฒนาแกนนำการออกกำลังกายให้มีความรู้ความสามารถที่ถูกต้องและเหมาะสม

 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดจำหน่ายสินค้าชุมชนเพื่อให้ผู้มาร่วมงานได้อุดหนุน พร้อมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

#SPRC

SPRC ชวนพี่น้องในชุมชนร่วมจัดตลาดนัดชุมชนครั้งที่ 3 สร้างรายได้กว่า 70,000 บาท

SPRC ชวนพี่น้องในชุมชนร่วมจัดตลาดนัดชุมชนครั้งที่ 3 สร้างรายได้กว่า 70,000 บาท

วันที่ 10 เมษายน 2567 บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรม “SPRC ตลาดนัดชุมชน” ครั้งที่ 3 ณ โรงอาหาร ภายในบริษัท SPRC โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในจังหวัดระยอง เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าของชุมชน พร้อมกับประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ภายในงานมีร้านค้าของชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วม 15 ร้านค้า จัดจำหน่ายสินค้าหลากหลาย อาทิ สินค้าการเกษตร เครื่องนุ่งหุ่ม และอาหารจากฝีมือของคนในชุมชนเอง โดยกิจกรรมในครั้งนี้สร้างรายได้มากกว่า 70,000 บาท และ SPRC ได้จัดกิจกรรมนี้ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งสามารถสร้างรายได้โดยรวมแล้วกว่า 168,000 บาท

SPRC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรายได้แก่พี่น้องในชุมชนและร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดระยอง อีกทั้งเรายังคงมุ่งที่จะจัดตลาดนัดชุมชนเรื่อย ๆ ตลอดทั้งปี

 

#SPRC

รายงานความก้าวหน้า โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) ( ช่วง 1 มกราคม 2567 – 31 มีนาคม 2567 )

รายงานความก้าวหน้า โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1)
( ช่วง 1 มกราคม 2567 – 31 มีนาคม 2567 )

ข้อมูลโดย การนิคมอุตสาหกรรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยสำนักงานบริหารโครงการ เจ้าของโครงการ, กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการ PMSC, บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจีเทอร์มินอล จำกัด (GMTP) เอกชนคู่สัญญาบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) ผู้รับจ้าง สำหรับ ความคืบหน้าของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3
1. ปัจจุบันความก้าวหน้าโครงการอยู่ที่ 78.62% โดยแผนงานกำหนดไว้ที่ 85.76% ซึ่งมีความก้าวหน้าใกล้เคียงกับแผน โดยเป็นข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567

2. มาตรการความปลอดภัยและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำคัญๆ ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น การติดตั้งทุ่นและไฟสัญญาณและเครื่องหมายบอกตำแหน่งแสดงอาณาเขตบริเวณพื้นที่ก่อสร้างในทะเลของโครงการ การควบคุมการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ทั้งทางบกและทางทะเลให้มีความปลอดภัย การติดตั้งม่านกันตะกอนในพื้นที่การขุดลอกเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของตะกอน การตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรการ EHIA เช่น การตรวจวัดคุณภาพอากาศ การตรวจวัดคุณภาพน้ำทะเล การตรวจวัดคุณภาพเสียงและความสั่นสะเทือน การเก็บตัวอย่างนิเวศวิทยาทางทะเล เป็นต้น ซึ่งค่าต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด

3. กิจกรรมพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมชุมชน (CSR)
โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบบตาพุด ระยะที่ 3 ได้ดำเนินการกิจกรรม พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมชุมชน (CSR) ในช่วง มกราคม-มีนาคม 2567 ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมสืบสานประเพณี บุญข้าวหลามร่วมกับชุมชนตากวนอ่าวประดู่ กิจกรรมทำความสะอาดบริเวณชายหาด ณ บริเวณที่ทำการกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านพลา-อู่ตะเภาสามัคคี กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จังหวัดระยอง ปีที่ 22 ณ บริเวณที่ทำการกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านพลา-อู่ ร่วมกิจกรรมสืบสานประเพณี บุญข้าวหลามร่วมกับกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านหนองแฟบ ร่วมดำเนินการต้อนรับคณะศึกษาดูงาน จากเทศบาลตำบลแสลงพัน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี มาร่วมศึกษาดูงานธนาคารจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประมงเล็กพื้นบ้านหาดสุชาดา และร่วมติดตามใส่ปุ๋ย EM Ball ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนเทศบาลตำบลเนินพระ เข้าร่วมกิจกรรมสืบสานประเพณี ร่วมเป็นเจ้าภาพติดกัณฑ์เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก ณ วัดพลา จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการบริหารจัดการ ของ ประมงวิสาหกิจเรือเล็กหนองแฟบและกลุ่มวิสาหกิจสวนคุณย่า เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจชุมชน สนับสนุนคอนกรีตผสมเสร็จจำนวน 6 คิว งานเทพื้นโรงเรือนอาคารอนุรักษ์ฟื้นฟูสาหร่ายพวงองุ่น บ่ออนุบาลไข่หมึกและปูไข่ดำ ณ วัดบ้านพลา ผู้บริหารของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) ร่วมกับ เทศบาลเนินพระ ร่วมกิจกรรมกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ณ ป่าชายเลนเนินพระ และ ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีจำกัด มาเยี่ยมชม ผสมผสาน เศรษฐกิจพอเพียงวิสาหกิจชุมชนสวนคุณย่าหนองแฟบ
เป็นต้น

4. แผนการก่อสร้างใน ระยะ 3 เดือนต่อไป (เมษายน 2567 – มิถุนายน 2567
4.1 งานก่อสร้างเขื่อนกันทราย (Revetment) งานก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น (Breakwater) และงานก่อสร้างท่าเทียบเรือบริการ (Service Tugboat Port) 4.2 งานก่อสร้างสะพานทางเข้า-ออก ของโครงการ
4.3 งานขุดลอกและถมทะเล 4.4 การหล่อและติดตั้งคอนกรีตสำเร็จรูป (Caisson) 4.5 การขนส่งวัสดุก่อสร้างทางทะเล 4.6 งานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
สามารถศึกษาข้อมูล/รายละเอียดเพิ่มเติม สำนักงานบริหารโครงการ. www.maptaphut3.com ติดต่อประสานงาน ที่นายศุภโชค ศิลปเจริญ โทร. 086-0992588 (คุณแมน)

Dow จับมือ ศศินทร์ สานพลังรักษ์โลกกับคนรุ่นใหม่ ใน “FLY Volunteers Bangkok Summer Camp 2024”

Dow จับมือ ศศินทร์ สานพลังรักษ์โลกกับคนรุ่นใหม่

ใน  “FLY Volunteers Bangkok Summer Camp 2024”

 

กรุงเทพฯ – เมษายน 2567 – กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ จัดกิจกรรมค่ายผู้นำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมรวม วัน ให้กับน้อง ๆ ม.ต้น จากโรงเรียนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อสร้างเสริมทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้ และสัมผัสเชื่อมโยงกับธรรมชาติ พร้อมกับพัฒนาทักษะและศักยภาพให้เยาวชนไทยสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยมีนายประทรรศน์ สูตะบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นประธานเปิดค่าย และ ดร.อรทัย พงศ์รักธรรม ผู้จัดการแผนกกิจการด้านความยั่งยืน ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ในแวดวงวิชาการและองค์กรระดับนานาชาติ ร่วมถึงการดำเนินงานในปัจจุบันร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในหลากหลายโครงการด้านการต้านโลกร้อน เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมวงจรรีไซเคิล ร่วมแชร์มุมมอง ชวนน้อง ๆ ขบคิด ตั้งคำถาม และนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้กับโครงการหรือการดำเนินชีวิตประจำวันต่อไปในอนาคตได้ระหว่างการเสวนาหัวข้อ “ทักษะผู้นำเยาวชนในยุคโลกรวน” พร้อมกันนี้ยังได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินโครงการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว THE LIGHTERTHAILAND ได้ที่นี่ https://web.facebook.com/LighterThailand/

ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 Gulf MTP สนับสนุน กลุ่มสตรีเทศบาลเมืองมาบตาพุด

ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 Gulf MTP สนับสนุน กลุ่มสตรีเทศบาลเมืองมาบตาพุด 38 ชุมชน บำเพ็ญประโยชน์ ถวายเป็นพระราชกุศล แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ

วันที่ 1 มีนาคม 2567 โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ประกอบด้วย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร.) บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (GMTP) บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ (PMSC) นำโดย นายสดุดี สุจริต ผู้จัดการโครงการก่อสร้าง ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3และคณะ ร่วมมอบ เสื้อยืดโปโล สีม่วง สำหรับ กลุ่มสตรีแม่บ้าน เทศบาลเมืองมาบตาพุด ทั้ง 38 ชุมชน จำนวน 500 ตัว ซึ่งมี

นายอำนวย ไตรลักษณ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด คณะผู้บริหาร ประธานกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองมาบตาพุดและสมาชิกร่วมกันรับมอบ โดยจะนำไปใช้ในกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน 2567   อีกด้วย…

 

โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 Gulf MTP. จับมือ สทร. “ สร้างธนาคารปู อนุรักษ์พันธ์สัตว์ทะเล “

โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 Gulf MTP. จับมือ สทร. “ สร้างธนาคารปู อนุรักษ์พันธ์สัตว์ทะเล “ ณ กลุ่มประมงพื้นบ้าน เก้ายอด จ.ระยอง

 

วันที่ 2 เมษายน 2567 สำนักงาน ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร.) พร้อมด้วย โครงการท่าเรืออุตสาหกรรม มาบตาพุด ระยะที่ 3 ประกอบด้วย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร.) บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (GMTP) บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ (PMSC) จัดกิจกรรมสร้างบ้านปู อนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ เป็นธนาคารปูแสม ร่วมกับวิสาหกิจกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านเก้ายอด ณ ป่าชายเลน กลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านเก้ายอด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง

นายศุภฤกษ์ โสภณราพงษ์ ผช.ผจก.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ บริษัท Gulf MTP โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 กล่าวว่า การเข้าร่วมกิจกรรมกับ สทร. ซึ่งเป็นนโยบายของบริษัท ฯ และ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ ที่ 3 ในการพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการส่งเสริมอาชีพของชาวประมงพื้นบ้าน

สร้างบ้านปู ธนาคารปู เพื่ออนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ เพื่อแหล่งที่อยู่อาศัยของปูทะเล การเพาะพันธุ์ และขยายพันธุ์ สู่ท้องทะเล อนุรักษ์ อนุบาล พันธุ์สัตว์น้ำ ให้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืนต่อไป ทุกหน่วยงานมีนโยบายและให้ความสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวประมงพื้นบ้านในชุมชน พวกเราตระหนักเสมอว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ต้องร่วมพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวชุมชน และเมืองระยอง

 

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ร่วมงานมหกรรมเล่าขาน ตำนานเมืองระยอง ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่าน โครงการ CSR สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ร่วมงานมหกรรมเล่าขาน ตำนานเมืองระยอง ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่าน โครงการ CSR สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

31 มีนาคม 2567 – บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี) โดยคุณอดิศร วังมูล
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและองค์กรสัมพันธ์ นำคณะเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าฯ เข้าร่วมงาน มหกรรมเล่าขาน
ตำนานเมืองระยอง เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 69 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานวันอนุรักษ์มรดกไทย ปี 2567
บริเวณถนนริมน้ำ ฝั่งโรงเรียนอนุบาลระยอง ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีนายกำธร เวหน
รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานเปิดงาน

การร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ได้มีโอกาสจัดแสดงนิทรรศการ สื่อสาร โครงการ CSR
(กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม) ของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี อาทิ โครงการปุ๋ยจากเศษใบไม้
โครงการผักปลอดภัย โครงการเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง ซึ่งเป็นโครงการที่มีการประยุกต์นำ
วิธีการของศาสตร์พระราชา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงาน ตามหลัก ESG (Environmental,
Social, Governance) สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

อนึ่ง ภายในงานมีกิจกรรมการแสดง แสง สี เสียงสื่อผสมการแสดงทางวัฒนธรรมบนเวที
ร่วมด้วยการประกวดแข่งขันพูดภาษาถิ่นระยอง ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง มอบโล่รางวัลขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรม
และมอบโล่ผู้สนับสนุนการจัดงาน นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายอาหารท้องถิ่น คาวหวาน เสื้อผ้า
ของดีจังหวัดระยอง ถือเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ภาษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่มีความหลากหลาย เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง อย่างเป็นรูปธรรม
โดยงานดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน พ.ศ.2567

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว THE LIGHTERTHAILAND ได้ที่นี่ https://web.facebook.com/LighterThailand/

โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 และ Gulf MTP รวมพลังพนักงานอาสา เก็บขยะชายหาดพลา จ.ระยอง

โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 และ Gulf MTP รวมพลังพนักงานอาสา เก็บขยะชายหาดพลา จ.ระยอง


โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ประกอบด้วย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร.) บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (GMTP) บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ (PMSC) ระดมพนักงานอาสา จากทุกหน่วยงาน ผนึกกำลัง ร่วมกับ กลุ่มประมง ประชาชน โรงงานอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เก็บขยะชายหาด ซึ่งเป็นช่วงที่คลื่นลมทะเล พัดพาขยะขึ้นชายฝั่งจำนวนมาก

 

นายศุภฤกษ์ โสภณราพงษ์ ผช.ผจก.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (GMTP) ผู้ประสานงาน พนักงานอาสาจาก โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 กล่าวว่า ที่เรามากันครั้งนี้ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และ ภูมิทัศน์ที่สวยงามของเมืองระยอง อีกทั้งเป็นการลดขยะในทะเลซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลและระบบนิเวศน์ จึงได้เป็นที่มาของกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งมีหน่วยงาน กลุ่มประมงพลา เป็นแกนนำ พร้อมด้วย ชาวประมง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มีความร่วมมือกันเป็นอย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน อย่างยั่งยืนต่อไป

วิสาหกิจชุมชนระยองคึกคัก ปรับใช้บรรจุภัณฑ์สินค้ารักษ์โลก ผ่านความร่วมมือกับ Dow และสถาบันพลาสติก

วิสาหกิจชุมชนระยองคึกคัก ปรับใช้บรรจุภัณฑ์สินค้ารักษ์โลก ผ่านความร่วมมือกับ Dow และสถาบันพลาสติก

 

ระยอง – 28 มีนาคม 2567 – 19 วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดระยอง หันมาปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยและรีไซเคิลได้ พร้อมวางจำหน่ายแล้ววันนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านวัสดุศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และสถาบันพลาสติก ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่รีไซเคิลได้ 100% ช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ ลดปริมาณอาหารเน่าเสีย ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมยกระดับศักยภาพในการพัฒนาสินค้าและบริการ ตอบสนองความต้องการและเทรนด์ด้านการตลาดยุคใหม่ หวังสร้างรายได้เพิ่ม พัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อก้าวสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ที่ผ่านมา Dow ได้ให้การสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหลายแห่งในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการจัดตลาดเพื่อส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้า การอบรมให้ความรู้ด้านการทำบัญชี และการเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนในกระเช้าปีใหม่ สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Dow Asia Pacific Impact Fund รวมทั้งสิ้น  700,000 บาท และได้รับความร่วมมือจากสถาบันพลาสติกในการร่วมกันออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนเพียงชนิดเดียว (Mono-material Polyethylene) ส่งผลให้รีไซเคิลได้ง่ายและสะดวกขึ้น ลดการปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน เนื่องจากลดการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน แต่ยังคงประสิทธิภาพด้านความแข็งแรง ความสวยงาม ความสะดวกในการขนส่ง และการใช้งานของบรรจุภัณฑ์

   นายณัฐพงศ์ จิรวัฒนาวรกุล ผู้จัดการแผนกกิจการเพื่อสังคมและชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการนี้ไม่เพียงช่วยส่งเสริมเอกลักษณ์ของสินค้า ยกระดับคุณภาพบรรจุภัณฑ์ เพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชน สร้างคุณค่าและความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคต่อแบรนด์สินค้า แต่ยังสร้างความเข้าใจถึงบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม การที่ชุมชนหันมาปรับใช้บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ช่วยเปลี่ยนทัศนคติว่าพลาสติกไม่ใช่ขยะแต่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า อีกทั้งยังขยายผลการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเป็นกระบอกเสียงสำหรับการคัดแยกและนำพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้เพิ่มมากขึ้นต่อไป”

นอกจากนี้ Dow ยังวางแผนจัดอบรมให้ความรู้และศึกษาดูงานแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับ ‘ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน’ และ ‘การตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ เพื่อสร้างความเข้าใจเครื่องมือทางการตลาด ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และการดำเนินงานที่ใส่ใจผู้บริโภคยุคใหม่และเทรนด์โลก ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การยืดอายุการใช้งาน การบริโภค การตลาด และการพัฒนาการขายในรูปแบบตลาดท้องถิ่นให้มีเอกลักษณ์ ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพ สร้างรายได้ สร้างอาชีพ และยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดระยองทั้ง 19 แห่ง ประกอบด้วย 1) วิสาหกิจชุมชนรวมมิตรเกษตรอินทรีย์ (ปุ๋ยไส้เดือน ดินก้ามปู น้ำหมักจุลินทรีย์) 2) บ้านเอื้ออาทรวังหว้า (ปุ๋ยไส้เดือน น้ำหมักจุลินทรีย์) 3) บ้านขนมไทยอิ่มศุข (ขนมไทย กล้วยอบ) 4) กลุ่มมะพร้าวแปลงใหญ่ (มะพร้าวแก้ว) 5) วิสาหกิจชุมชนสวนป้านุลุงไก่ เกษตรอินทรีย์ (เลมอนอบแห้ง) 6) วิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วยมาบชลูด (กล้วยกวน) 7) วิสาหกิจชุมชนบ้านมาตังค์ (หมูฮ้อง ปลาต้มหวาน) 8) ร้านกาแฟ Early Sweet Tooth (กาแฟ เครื่องดื่ม) 9) ร้านน้ำพริกชุมชนจ.คู่ (น้ำพริกปลาสลิด น้ำพริกเผา น้ำพริกตาแดง) 10) กลุ่มยุวเกษตรกร รร.วัดชากหมาก (ไข่เค็มสองสหาย) 11) โรงเรียนบ้านเขาห้วยมะหาด (ไข่เค็ม ป.1) 12) ชุมชนคลองทราย (หมูแผ่น) 13) วิสาหกิจชุมชนบ้านรลิณ กรีน ลีฟวิ่ง (น้ำยาซักผ้า) 14) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านฉางไฮโดรฟาร์ม (กิมจิ) 15) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ศพก.บ้านฉาง (แผ่นมันสำปะหลังแปรรูป) และ 16-19) เครือข่ายเลี้ยงชันโรง (นำผึ้งชันโรง) ได้แก่ วสช.เกษตรแปรรูปบ้านดอน วสช.กลุ่มแม่บ้านเกษตรแปรรูปภูลำไยอำเภอบ้านฉาง วสช.รวมมิตรเกษตรอินทรีย์ วสช.บ้านมาตังค์ วสช.สวนป้านุลุงไก่เกษตรอินทรีย์ และชุมชนหนองม่วง

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว THE LIGHTERTHAILAND ได้ที่นี่ https://web.facebook.com/LighterThailand/

ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 Gulf MTPเดินหน้าฟื้นฟูป่าชายเลน

ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 Gulf MTP ผนึกกำลัง ประมงจังหวัด โรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มประมงเดินหน้าฟื้นฟูป่าชายเลน ทต.เนินพระ จ.ระยอง ต่อเนื่อง ปีที่ 3

วันที่ 27 มีนาคม 2567 มีการจัดกิจกรรมโครงการปลูกป่าชายเลน ณ ป่าชายเลนเทศบาลตำบลเนินพระ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กิตติเกษม ชำนิไกร ปลัดเทศบาลตำบลเนินพระ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายสดุดี สุจริต ผู้จัดการ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ ที่ 3 บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (Gulf MTP) บริษัท อิตาเลี่ยนไทยดีเว๊ลอปเมนต์ จำกัด(มหาชน) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาการก่อสร้างท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 (PMSC) และ สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร.)

พร้อมด้วย หน่วยงาน สำนักงานประมงจังหวัดระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ ฯ ภาคเอกชน โรงงานอุตสาหกรรมหลายบริษัทฯ และ กลุ่มชาวประมงเรือเล็กหาดสุชาดา ได้ร่วมมือ ร่วมใจ อาสา เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน พื้นที่เทศบาลตำบลเนินพระ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง ซึ่งมีการดำเนินงานปลูกป่าชายเลน แปลงที่ 3 ต่อเนื่องเป็น ปีที่ 3 โดยใน 3 ปีที่ผ่านมาทางบริษัท Gulf MTP

โดย ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ได้ส่งเสริมการนำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganism ) มาใช้ในการปรับสภาพดินน้ำและใช้กระบวนการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพจากเศษปลาทะเล และ ทำเป็นจุลินทรีย์ก้อน ร่วมกับกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา นำมาใช้ในการปรับสภาพ ดิน น้ำ และเป็นปุ๋ย ในการปลูกป่าชายเลนเพิ่มทดแทนส่วนที่เสื่อมโทรม และ ฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนเดิม รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ของป่าชายเลนด้วย

นายศุภฤกษ์ โสภณราพงษ์ ผช.ผจก.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ Gulf MTP ผู้ประสานงานและติดตามการดำเนินงานของโครงการฯ กล่าวถึงผลงานว่า ผลการดำเนินงานประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี จำนวนต้นกล้าที่ปลูกใหม่รวมกว่า 6,000 ต้น (รวมครั้งนี้) มีอัตราการรอดและมีการเจริญเติบโต กว่า 90 % ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมามีการติดตามดูแลตลอด มีการวัดการเจริญเติบโต ระหว่าง 120- 170 เซนติเมตร ต้นและรากแข็งแรงมาก ซึ่งจะสามารถเติบโตเสริมจำนวนของต้นไม้ในป่าชายเลนแห่งนี้ได้ ต่อไป

นายสดุดี สุจริต ผจก.โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 (จากบริษัท Gulf MTP ) กล่าวว่า โครงการ ฯ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ต่อการดูแล อนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เราได้มีโครงการวางบ้านปลาประการังเทียมจำนวนหลายล้านบาทใน 2 ปี ที่ผ่านมา และมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำทุกปี สำหรับ ป่าชายเลนเป็นอีกพื้นที่เป้าหมายที่สำคัญ เพราะเป็นการสร้างสมดุลทางสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา รวมทั้งเป็นแหล่งอนุบาลเพาะพันธ์สัตว์น้ำของสัตยว์ทะเล และเป็นปอดให้กับเมืองระยอง เรามุ่งมั่นพัฒนาฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง 3 ปี ที่ผ่านมา มีพัฒนาการที่น่าพอใจและโครงการฯ จะส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมนี้ต่อไป อย่างไรก็ตามความก้าวหน้า ความสำเร็จในครั้งนี้ มาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาคกลุ่มประมง ภาครัฐ ท้องถิ่น เทศบาล และ ภาคโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้มาร่วมมือกันหลายองค์กร ทุกๆคน คือพลังและเป็นเจ้าภาพร่วมกัน

โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ยั่งยืนต่อไป …